“ผ่อนบ้านไม่ไหว ต้องทำยังไง”
ในสถานการณ์ เศรษฐกิจฝืดเคือง การกู้เงินธนาคารเพื่อซื้อบ้านที่ว่ายากแล้ว แต่การที่จะประคับประคองให้บ้านที่ซื้อมาด้วยน้ำพักน้ำแรง ให้คงอยู่กับเราไปตลอดด้วยยิ่งยากกว่า
อย่างไรก็ตาม อย่าได้ใช้วิธีขอผัดผ่อนกับธนาคารไปเรื่อย เพราะปัญหาเรื่อง “ผ่อนบ้านไม่ไหว” ในระยะสั้นที่เกิดขึ้นชั่วคราว สามารถหาทางออกได้ หากเรามีการวางแผน หาไอเดีย และต้องติดต่อธนาคาร เพื่อเจรจาประนอมหนี้
การเจรจาขอประนอมหนี้ สามารถทำได้หลายลักษณะ ดังนี้
1.การขอชำระค่าบ้าน ลดลงจากยอดเดิม
- ใช้กรณียอดชำระต่อเดือนสูงกว่า ยอดดอกเบี้ยต่อเดือน อย่างน้อย 500 บาท
- ระยะเวลาในการขอไม่เกิน 2 ปี
- ควรทำเมื่อมีรายได้ต่อเดือนลดลง หรือมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น
- เหมาะสำหรับผู้มีประวัติผ่อนบ้านที่ดี
- เหมาะกับคนที่ประเมินว่า จะกลับมาชำระปกติได้ ภายในเวลาที่กำหนด
2.ขอลด อัตราดอกเบี้ย
- อาจเกิดในกรณีดอกเบี้ยสูงขึ้น จากเดิมที่กู้ ธนาคารอาจให้ชำระเป็นเงินก้อน ที่มีอัตราที่สูงกว่า ค่าผ่อนต่อเดือน หรือชำระภายในครั้งเดียวทั้งหมด
- เหมาะสำหรับผู้กู้ ที่มีรายได้ประจำทุกเดือน แต่มีรายได้ลดลง และรายจ่ายเพิ่มขึ้น
- ต้องเป็นผู้มีประวัติชำระค่าบ้านที่ดี
- เหมาะกับผู้ที่ประเมินว่าสามารถมีรายได้สูง สำหรับชำระเป็นก้อนตามเงื่อนไขได้
3.ขอผ่อนผัน การชำระค่าบ้านไม่เกิน 36 เดือน ทำได้ 2 กรณี
3.1 ขอชำระเป็นก้อนเล็ก แต่ชำระทุกเดือน
- เหมาะกันผู้ที่ขาดรายได้ หรือรายได้ไม่คงที่ ไม่พอกับค่าผ่อนชำระในแต่ละเดือน หรืออาจจะมีรายได้ประจำอยู่แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น
- เหมาะกันคนที่ประเมินแล้วว่า จะหารายได้มั่นคงต่อเดือน ให้เพียงพอได้ภายในกำหนดระยะเวลา
3.2 ขอชำระเป็นก้อนโดยแบ่งออกเป็นงวด
- เหมาะกันผู้ที่ขาดรายได้ชั่วคราว หรือรายได้คงที่ แต่มีรายจ่ายฉุกเฉินชั่วคราว
- เหมาะกันคนที่ประเมินแล้วว่า จะชำระค่าใช้จ่ายฉุกเฉินต่างๆ ที่ทำให้ไม่สามารถชำระค่าผ่อนบ้านได้ ในช่วงที่ผ่อนผัน และสามารถหารายได้มาชำระหนี้คงค้าง ได้ภายในเวลาที่กำหนด
- เหมาะกับ ผู้ที่คาดว่าจะมีรายได้จำนวนมากเป็นครั้งคราวหรือรายได้พิเศษที่สูง
3.3 ขอชำระเงินคงค้างทั้งหมดภายในระยะเวลาหนึ่ง
- เหมาะกันผู้ที่ขาดรายได้ เป็นการชั่วคราว รายได้ไม่พอ กับค่าผ่อนชำระในแต่ละเดือน หรือมีรายได้ประจำอยู่ แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
- ต้องมียอดเงินค้างชำระ จำนวนไม่สูงมาก
- เหมาะกับผู้ที่เป็นไปได้ว่า จะชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ทันในช่วงผ่อนผัน และสามารถหารายได้มาชำระหนี้ ตามระยะเวลาที่กำหนด
- เหมาะกันผู้ที่คาดว่าจะมีรายได้สูง ในระยะเวลาที่กำหนด อาจเกินจากเงินก้อนใหญ่ จากการขายสินทรัพย์ หรือ จากการทำงาน
4.ขอขยายเวลาชำระหนี้
- กรณีนี้จะทำให้ยอดค่าผ่อนต่อเดือน ลดลง และสามารถขอขยายเวลากู้ได้ จนอายุ 70 ปี
- กรณีนี้เหมาะสำหรับผู้กู้ ที่มีรายได้ประจำทุกเดือน แต่มีรายได้ลดลง และรายจ่ายเพิ่มขึ้น
- เหมาะกับ ผู้ที่อายุน้อย และสัญญากู้ปัจจุบัน มีระยะเวลาไม่ถึง 30 ปี
- เหมาะกับผู้มีรายได้ต่อเดือนประจำ จะเป็นจากเงินเดือน หรือเงินปันผล
5.การขอโอนหลักทรัพย์ ให้ธนาคารชั่วคราว โดยจะซื้อคืน
- กรณีนี้คล้ายการขายฝากกับธนาคาร แต่จะเป็นการเช่า หลักทรัพย์ต่อจากธนาคาร
- ธนาคารคิดค่าเช่า 0.4-0.6% ของมูลค่าหลักทรัพย์ ทำสัญญาเช่ารายปี
- กรณีหนี้สูงกว่า ราคาประเมิน ผู้กู้ต้อชำระส่วนต่าง ในวันโอน
- เหมาะสำหรับผู้กู้ที่ขาดรายได้ และไม่น่าจะกลับมา มีรายได้เพียงพอต่อการชำระค่าบ้าน ภายใน 1 ปีได้
- เหมาะกับผู้ที่สามารถชำระเงินส่วนต่างได้ กรณีที่ราคาหนี้สูงกว่าราคาประเมิน
- เหมาะกับผู้ที่สามารถจ่าย ค่าเช่ารายเดือน ให้ธนาคารได้
- เหมาะกันผู้ที่คาดว่าจะมีรายได้สูง ในระยะเวลาที่กำหนด อาจเกิดจากเงินก้อนใหญ่ จากการขายสินทรัพย์ หรือ จากการทำงาน
สรุป
10 ขั้นตอน หากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น รายได้ลดลง ตกงาน รายจ่ายเพิ่มขึ้น หรือมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ทำให้ไม่สามารถผ่อนบ้านได้ เตรียมตัวรับมือ ตั้งสติ และปฏิบัติตนเป็นลูกหนี้ที่ดี ดำเนินการตาม ขั้นตอนเมื่อผ่อนบ้านไม่ไหว ดังนี้
- ขอผ่อนผัน ยอดหนี้ค้างชำระ
- ขอชำระ ต่ำกว่าเงินรายงวดปกติ
- ขอชำระเพียง ดอกเบี้ยประจำเดือน
- ขอลดอัตรา ดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ
- ขอโอนบ้าน ให้สถาบันการเงินหรือธนาคารเป็นการชั่วคราว
- ขอให้ ชะลอการฟ้อง
- เจรจาให้ ถอนฟ้อง
- ติดต่อขอยอมความ กับสถาบันการเงิน
- ขอชะลอ การยึดทรัพย์
- ขอชะลอ การขายทอดตลาด
หากระยะยาวคิดว่า “ผ่อนบ้านไม่ไหว” แน่นอนแล้ว “ขายบ้าน” ก็เป็นทางออกที่ดี ก่อนจะเกิดสถานการณ์ข้างต้น
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจ หรือ ลงประกาศ ขายบ้าน ฟรี! ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ค่ะ
รับฝากขาย จัดหา บ้าน ที่ดิน คอนโด พร้อมบริการครบวงจร ดูเพิ่มเติม และปรึกษาฟรี! www.assisterhome.com
“Assister Home” ทีมงาน นายหน้าขายบ้าน นักการตลาดอสังหาฯ คุณภาพมืออาชีพ ยินดีบริการค่ะ