2 วิธี ช่วยลดดอกเบี้ยบ้าน! รีไฟแนนซ์ (Refinance) กับ รีเทนชั่น (Retaintion) เลือกอะไรดีกว่ากัน?

รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) คือ การขอกู้เงินจากสถาบันการเงินใหม่ เพื่อนำไปปลดภาระเงินกู้เก่าที่มีอยู่ เหตุผลส่วนใหญ่ของการรีไฟแนนซ์ ได้แก่ การเลือกสถาบันการเงินใหม่ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่า เพื่อช่วยลดภาระค่าผ่อนชำระต่อเดือน หรือช่วยให้ผ่อนหมดเร็วขึ้น เรามาดูว่าการรีไฟแนนซ์มี 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

วิธีการ รีไฟแนนซ์บ้าน

1. ตรวจสอบสัญญากู้บ้าน

เราต้องทราบก่อนว่าเราสามารถเริ่มรีไฟแนนซ์ได้ตอนไหน โดยส่วนใหญ่มักเริ่มได้ เมื่อผ่อนชำระครบ 3 ปีแล้ว หลังจากนั้นเราก็ต้องทำการเลือกธนาคารที่จะรีไฟแนนซ์ และเตรียมเอกสารในการยื่นทีมงาน Assister Home ขอเรียบเรียงเพื่อให้คุณเห็นภาพชัดเจนขึ้น ดังนี้

2. เลือกธนาคารที่เรา รีไฟแนนซ์บ้าน

ปกติการรีไฟแนนซ์จะมีธนาคาร ที่รองรับมากมายและที่สำคัญมีโปรโมชั่นดีๆ ให้เราได้พิจารณาด้วย ฉะนั้นในการพิจารณาไม่ต่างกับตอนที่เราเลือกขอสินเชื่อกันธนาคารในครั้งแรกที่ซื้อบ้าน เพราะถ้าเลือกและเปรียบเทียบดีๆ แล้วเราจะได้ธนาคารที่ให้สิทธิประโยชน์ในแง่ของอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุด ทำให้ช่วยประหยัดดอกเบี้ยได้สูงเลยทีเดียว ทีมงาน Assister Home ขอแนะนำให้พิจารณาโดยละเอียดรอบคอบนะคะ

3. เตรียมเอกสารในการรีไฟแนนซ์

เอกสารต่างๆ ในการรีไฟแนนซ์มีหลายส่วนที่ต้องจัดเตรียม เพราะคล้ายคลึงกับการขอสินเชื่อบ้านในครั้งแรก แต่ละธนาคารก็จะใช้เอกสารใกล้เคียงกัน Assister Home ขอรวบรวมเอกสารที่สำคัญที่คุณต้องเตรียมในเบื้องต้น ดังนี้

เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล

  1. สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน
  3. สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน คู่สมรส (ถ้ามี)
  4. สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า/ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)
  5. สำเนาใบมรณะบัตร และทะเบียนสมรถของคู่สมรส (กรณีคู่สมรส เสียชีวิต)

เอกสารแสดงรายได้

กรณีบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจส่วนตัว

  1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน / ใบทะเบียนการค้า
  2. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้ หรือ ผู้กู้ร่วม
  3. สำเนารายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (ทั้งในนามบุคคลและกิจการ)
  4. สำเนา ภ.พ. 30 (ถ้ามี)

กรณีบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ประจำ

  1. สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองการทำงาน (ตัวจริง)
  2. รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  3. สำเนาหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)

หมายเหตุ : กรณีมีผู้กู้ร่วม ต้องเตรียมเอกสารเหมือนผู้กู้หลัก อาจมีเอกสารเพิ่มเติมตามเงื่อนไขแต่ละธนาคาร

4. การยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์

เมื่อเลือกธนาคารเรียบร้อยต้องดำเนินการยื่นเอกสารทั้งหมดที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นธนาคารจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าทำการประเมินหลักประกัน หรือ บ้านของเรานั่นเอง เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติ และเมื่อได้รับผลอนุมัติจากธนาคารที่เรารีไฟแนนซ์ เจ้าหน้าที่ก็จะแจ้งให้เราติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อสอบถามยอดหนี้คงเหลือทั้งหมดที่ต้องไถ่ถอน และนัดทำการไถ่ถอน ณ กรมที่ดิน

5. ทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน

เจ้าหน้าที่จากธนาคารใหม่ที่เรารีไฟแนนซ์จะเข้าทำสัญญาจำนอง ณ กรมที่ดินในวันเดียวกันกับที่ธนาคารเดิมไปไถ่ถอนเท่านั้นเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการรีไฟแนนซ์

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์มีอะไรบ้าง มาดูกัน

  • ค่าประเมินราคา (บางธนาคาอาจจะมีโปรโมชั่น ฟรี!)
  • ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน 1% ของวงเงินกู้
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงิน (ไม่เกิน 10,000)
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร (บางธนาคารก็อาจมีโปรโมชั่น)

ทั้งหมดนี้คุณคงพอทราบแล้วใช่ไหมว่าจะมีค่าใช้จ่ายอะไรเกิดขึ้นบาง Assister Home แนะนำให้ลองคำนวณดูนะคะ ว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ได้รับ จะทำให้คุณประหยัดคุ้มค่าได้หรือไม่

“Assister Home” มีเคล็ดลับดีๆ มาฝาก

เพื่อช่วยตรวจสอบก่อน รีไฟแนนซ์ ทำให้คุณประเมินการตัดสินใจได้ง่ายขึ้นนะคะ

  1. 1.พิจารณารายได้เพียงพอต่อการผ่อนชำระแต่ละเดือนหรือไม่
  2. 2.พิจารณาว่าเรามีหลักทรัพย์เพิ่มจากเดิมหรือไม่
  3. 3.มีการผ่อนชำระหลักทรัพย์อะไรอยู่บ้างเป็นเงินเท่าไรต่อเดือน
  4. 4. ตรวจสอบเครดิตบูโรก่อนนะคะว่ายังดีอยู่ไหม

เมื่อตรวจสอบเบื้องต้นแล้วทราบว่าเรามีศักยภาพในการผ่อนบ้านได้แบบสบายๆ ก็เตรียมความพร้อมในการยื่นรีไฟแนนซ์ได้เลยนะคะ Assister Home เอาใจช่วยคุณในการผ่อนบ้านให้หมดเร็วๆ และได้อัตราดอกเบี้ยที่ต้องการนะคะ

การรีเทนชั่น (Retaintion)

คือ การขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับธนาคารเดิมที่เราใช้สินเชื่อบ้านอยู่ เราสามารถเข้าไปเจรจากับธนาคารเพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยได้ แต่ทั้งนี้การ Retaintion จะไม่ได้อัตราดอกเบี้ยที่น่าดึงดูดเท่ากับการรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ แต่อย่างไรก็ตามการ Retaintion ไม่ยุ่งยากไม่ต้องเตรียมเอกสารเยอะ เพราะแค่เราแจ้งความประสงค์และเข้าเจรจากับธนาคาร และใช้เพียงแค่สำเนาบัตรประชาชนหรือบางธนาคารอาจไม่ต้องใช้เอกสารเลย และที่สำคัญไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เกิดขึ้นเหมือนการรีไฟแนนซ์

หลังจากเราแจ้งทางธนาคารว่าต้องการ Retaintion แล้ว จะใช้เวลาประมาณ 7 วันทำการ จึงทราบผลการอนุมัติ ซึ่งรวดเร็วกว่าการรีไฟแนซ์เป็นอย่างมาก เพราะไม่ต้องใช้เวลาในการประเมินหลักทรัพย์และตรวจสอบเอกสาร ประวัติผู้กู้เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ธนาคารมีอยู่แล้ว

บทสรุป เลือก รีไฟแนนซ์บ้าน หรือ รีเทนชั่น ดีกว่ากัน?

ทีมงาน “Assister Home” ขอแนะนำ ให้คุณเจรจาเพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิมก่อนจะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ และถ้ายังได้อัตราดอกเบี้ยที่ยังไม่พึงพอใจ หรือสูงกว่าการรีไฟแนนซ์ค่อนข้างมาก คุณก็สามารถยื่นรีไฟแนนซ์ไปธนาคารแห่งใหม่ได้ แล้วลองคำนวณว่าแบบไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน แต่อย่างไรก็ตามควรพิจารณาเงื่อนไขและค่าใช้จ่ายว่าจะช่วยทำให้คุณผ่อนบ้านได้เร็วขึ้นและเสียดอกเบี้ยลดลงได้จริงหรือไม่ ด้วยความปราถนาดีจากทีมงาน “Assister Home” จะเป็นกำลังใจให้ทุกท่านนะคะ

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจได้ที่นี่

รับฝากขาย จัดหา บ้าน ที่ดิน คอนโด พร้อมบริการครบวงจร ดูเพิ่มเติม และปรึกษาฟรี! www.assisterhome.com

“Assister Home” ทีมงาน นายหน้าขายบ้าน นักการตลาดอสังหาฯ คุณภาพมืออาชีพ ยินดีบริการค่ะ